คนไทยโดยส่วนใหญ่ อาจจะเคยได้ยินชื่อสารอาหารที่ชื่อ เลซิติน กันมาบางแล้ว เลซิตินจะพบได้ นมสด ชีส เนย ไข่ เนื้อวัว ถั่วเหลือง ข้าว แป้ง ถั่วลิสง และแครอท ในปัจจุบันอุตสาหกรรมนิยมผลิตเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลือง เพราะให้สารเลซิตินสูงถึง 31.7% w/wในขณะที่ถั่วลิสงให้เพียง 22.6% w/w และถึงแม้ว่าในไข่แดงจะให้ เลซิตินสูงถึง 78.8% w/w แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เพราะไม่ให้ผลดีเท่า เลซิตินสกัดจากถั่วเหลือง
บทบาทและหน้าที่สำคัญของเลซิติน คือ
บำรุงสมองและป้องกันภาวะความผิดปกติของระบบประสาท
ลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี และเสริมสร้างการทำงานของตับ
ลดภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
การทำงานของ เลซิตินต่อระบบสมองและประสาท
สารสื่อนำประสาท (Neurotransmitters) มีหลายชนิด เช่น Acetylcholine (ACh) ซึ่ง Acetylcholine นั้น จะถูกสังเคราะห์โดยเซลล์ประสาทโดยใช้สารโคลีน (Choline) ซึ่งได้รับจากสารเลซิติน ดังนั้น เลซิติน จึงมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบประสาท ทำให้มีการนำ เลซิติน มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดจากความบกพร่องจากการสร้าง acetylcholine ดังนี้
· ความผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Movement Disorders) เช่น Parkinson's disease
· ความผิดปกติของการเรียนรู้และความจำ (Learning and Memory) ขบวนการเรียนรู้และความจำนั้น หากขาด choline หรือ Acetylcholine จะทำให้การเรียนรู้และความจำเสื่อมสมรรถภาพลง จึงมีการนำเลซิติน มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีความบกพร่องของความจำและระบบการเรียน
การทำงานของ เลซิติน ต่อนิ่วในถุงน้ำดีและเสริมการทำงานของตับ
นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วน หรือมีบุตรหลายคน การรักษาแต่เดิมมักใช้วิธีผ่าตัด ต่อมาก็มีการพัฒนาการรักษาบางชนิดที่ช่วยละลายนิ่ว ป้องกันการอุดตันที่ท่อน้ำดี ในปัจจุบันมีการสลายนิ่วด้วยเครื่องอุลตร้าซาวด์ แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่านิ่วในถุงน้ำดีมักจะมีสาเหตุมาจาก ส่วนประกอบในน้ำดีที่มีปริมาณของไขมันโคเลสเตอรอลสูงจนเกินไป ซึ่งการทำงานของเลซิติน จะช่วยได้เนื่องจากเลซิตินมีคุณสมบัติการเป็นตัวทำละลายของน้ำดี และช่วยให้น้ำดีไม่จับตัวกันจนเป็นก้อนนิ่ว
การได้รับ เลซิติน ในปริมาณ 0.6-1 กรัมต่อวัน ก็จะช่วยในการป้องกันโรคบางอย่างและควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ดีอยู่เสมอ โดยไม่ก่อให้เกิดการสะสมหรือข้อผลข้างเคียงต่อร่างกายแต่อย่างใด เพราะจากการทดลอง พบว่า การทาน เลซิติน ในปริมาณ 40-50 กรัมต่อวัน ติดต่อกันนานถึง 18 เดือน ก็ไม่พบการสะสมหรือผลข้างเคียงใดๆต่อสุขภาพและร่างกาย เพราะ เลซิติน เป็นสารอาหารที่เกิดจากธรรมชาตินั่นเอง
เราควรเลือกทานเลซิตินที่มีฟอสฟาติดิลโคลีนในปริมาณสูง(15-35%) เพื่อความสะดวกในการรับประทานในแต่ละวัน พร้อมทั้งพิจารณาเลือกเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลือง เพราะมีปริมาณของเลซิติน และไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง ควรเลือกเลซิตินที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยา เพราะทำให้มั่นใจได้ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย และร่างกายจะได้รับเลซิตินที่บริสุทธิ์ ปราศจากการแต่งกลิ่น รส และสารฟอกขาว
ในปัจจุบันที่มีการนำเลซิตินมาใช้มากมายเพื่อสุขภาพสุขภาพ
ในวงการแพทย์ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า เลซิตินสามารถช่วยลดให้ลำไส้ลดการดูดซึม ไขมันโคเลสเตอรอล และช่วยให้ขับถ่าย ไขมันโคเลสเตอรอลให้ออกมาทางอุจจาระมากขึ้น สามารถทำให้ระดับของ โคเลสเตอรอลในเลือดลดลง โครงสร้างของ เลซิตินยังมีสารประกอบที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ โคลีน (Choline) ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่สำคัญของสมอง คือ Acetylcholine หากร่างกายได้รับ เลซิตินในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยรักษาอาการผิดปกติของระบบประสาทบางประเภทได้
ในวงการแพทย์ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า เลซิตินสามารถช่วยลดให้ลำไส้ลดการดูดซึม ไขมันโคเลสเตอรอล และช่วยให้ขับถ่าย ไขมันโคเลสเตอรอลให้ออกมาทางอุจจาระมากขึ้น สามารถทำให้ระดับของ โคเลสเตอรอลในเลือดลดลง โครงสร้างของ เลซิตินยังมีสารประกอบที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ โคลีน (Choline) ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่สำคัญของสมอง คือ Acetylcholine หากร่างกายได้รับ เลซิตินในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยรักษาอาการผิดปกติของระบบประสาทบางประเภทได้
บทบาทและหน้าที่สำคัญของเลซิติน คือ
บำรุงสมองและป้องกันภาวะความผิดปกติของระบบประสาท
ลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี และเสริมสร้างการทำงานของตับ
ลดภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
การทำงานของ เลซิตินต่อระบบสมองและประสาท
สารสื่อนำประสาท (Neurotransmitters) มีหลายชนิด เช่น Acetylcholine (ACh) ซึ่ง Acetylcholine นั้น จะถูกสังเคราะห์โดยเซลล์ประสาทโดยใช้สารโคลีน (Choline) ซึ่งได้รับจากสารเลซิติน ดังนั้น เลซิติน จึงมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบประสาท ทำให้มีการนำ เลซิติน มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดจากความบกพร่องจากการสร้าง acetylcholine ดังนี้
· ความผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Movement Disorders) เช่น Parkinson's disease
· ความผิดปกติของการเรียนรู้และความจำ (Learning and Memory) ขบวนการเรียนรู้และความจำนั้น หากขาด choline หรือ Acetylcholine จะทำให้การเรียนรู้และความจำเสื่อมสมรรถภาพลง จึงมีการนำเลซิติน มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีความบกพร่องของความจำและระบบการเรียน
การทำงานของ เลซิติน ต่อนิ่วในถุงน้ำดีและเสริมการทำงานของตับ
นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วน หรือมีบุตรหลายคน การรักษาแต่เดิมมักใช้วิธีผ่าตัด ต่อมาก็มีการพัฒนาการรักษาบางชนิดที่ช่วยละลายนิ่ว ป้องกันการอุดตันที่ท่อน้ำดี ในปัจจุบันมีการสลายนิ่วด้วยเครื่องอุลตร้าซาวด์ แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่านิ่วในถุงน้ำดีมักจะมีสาเหตุมาจาก ส่วนประกอบในน้ำดีที่มีปริมาณของไขมันโคเลสเตอรอลสูงจนเกินไป ซึ่งการทำงานของเลซิติน จะช่วยได้เนื่องจากเลซิตินมีคุณสมบัติการเป็นตัวทำละลายของน้ำดี และช่วยให้น้ำดีไม่จับตัวกันจนเป็นก้อนนิ่ว
เนื่องจาก เลซิติน เป็นสารธรรมชาติที่ประกอบด้วย ฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมัน คือ ฟอสเฟต (Phosphate)และ โคลีน (Choline) ซึ่งเป็นวิตามินในกลุ่มเดียวกับวิตามินบี โดยที่ Choline ของเลซิตินจะมีส่วนในการช่วยให้เซลล์ตับมีการเผาผลาญไขมันได้อย่างปกติ ดังนั้นพบว่าในผู้ที่มีปํญหาไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง มักจะพบการสะสมของไขมันที่ตับ หรือภาวะไขมันพอกตับ ส่งผลให้เซลล์ของตับทำงานผิดปกติ ทำให้ตับอักเสบ และเป็นตับแข็งได้ในที่สุด ดังนั้นเลซิตินจึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยบำรุงตับ ส่งเสริมการทำงานของตับให้เป็นปกติ เหมาะกับผู้ที่ต้องการบำรุงตับหรือ ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ
การทำงานของเลซิตินในภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
ในปัจจุบันพบว่าภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ปัญหาโรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตัน เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงสุด ซึ่งในทางโภชนาการ
ในปัจจุบันพบว่าภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ปัญหาโรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตัน เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงสุด ซึ่งในทางโภชนาการ
การเลือกบริโภคอาหารให้ครบสัดส่วนที่ร่างกายต้องการ จะช่วยลดภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงได้ โดยการเลือกทานไขมันให้ถูกชนิดและในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง แต่หากทานไขมันอิ่มตัวมากๆ เช่นไขมันจากสัตว์ จะส่งผลทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
การเลือกทานอาหารให้ถูกต้องจะสามารถลดระดับ Low Density Lipoprotein (LDL-C ไขมันร้าย)และเพิ่ม High Density Lipoprotein(HDL-C ไขมันดี) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองอุดก็ตันได้ ทำให้คนหันมานิยมใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารมากกว่าน้ำมันที่มาจากไขมันสัตว์ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันจากไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าการใช้น้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะไขมันในน้ำมันพืชไม่ว่าจะเป็นน้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง จะลดทั้ง LDL cholesterol ( ไขมันชนิดร้าย ) และ HDL Cholesterol ( ไขมันชนิดดี ) ไปด้วย ดังนั้นร่างกายควรได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยลด LDL cholesterol แต่เพิ่มหรือรักษาระดับ HDL cholesterol ไว้ด้วย เพื่อช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและสารอาหารดังกล่าวนั้น ก็ได้มาจาก เลซิติน นั่นเอง ในปี 1980 Dr. Grefon และคณะได้ทำการวิจัยในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า เลซิติน จากถั่วเหลืองนั้น สามารถเพิ่มการขับไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีกว่าน้ำมันถั่วเหลือง และพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง โดยเมื่อวิเคราะห์แยกชนิดของโคเลสเตอรอล จะพบว่า LDL cholesterol ( ไขมันชนิดดร้าย ) ลดลงในขณะที่ HDL cholesterol ( ไขมันชนิดดี ) เพิ่มขึ้น และเมื่องดให้ เลซิติน แต่ยังให้น้ำมันข้าวโพด ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (polyunsaturated fatty acid: PUFA)กลับทำให้ระดับโคเลสเตอรอลกลับมาสูงเท่าเดิม
การเลือกทานอาหารให้ถูกต้องจะสามารถลดระดับ Low Density Lipoprotein (LDL-C ไขมันร้าย)และเพิ่ม High Density Lipoprotein(HDL-C ไขมันดี) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองอุดก็ตันได้ ทำให้คนหันมานิยมใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารมากกว่าน้ำมันที่มาจากไขมันสัตว์ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันจากไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าการใช้น้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะไขมันในน้ำมันพืชไม่ว่าจะเป็นน้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง จะลดทั้ง LDL cholesterol ( ไขมันชนิดร้าย ) และ HDL Cholesterol ( ไขมันชนิดดี ) ไปด้วย ดังนั้นร่างกายควรได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยลด LDL cholesterol แต่เพิ่มหรือรักษาระดับ HDL cholesterol ไว้ด้วย เพื่อช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและสารอาหารดังกล่าวนั้น ก็ได้มาจาก เลซิติน นั่นเอง ในปี 1980 Dr. Grefon และคณะได้ทำการวิจัยในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า เลซิติน จากถั่วเหลืองนั้น สามารถเพิ่มการขับไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีกว่าน้ำมันถั่วเหลือง และพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง โดยเมื่อวิเคราะห์แยกชนิดของโคเลสเตอรอล จะพบว่า LDL cholesterol ( ไขมันชนิดดร้าย ) ลดลงในขณะที่ HDL cholesterol ( ไขมันชนิดดี ) เพิ่มขึ้น และเมื่องดให้ เลซิติน แต่ยังให้น้ำมันข้าวโพด ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (polyunsaturated fatty acid: PUFA)กลับทำให้ระดับโคเลสเตอรอลกลับมาสูงเท่าเดิม
เลซิติน กับประโยชน์ที่หลากหลายต่อสุขภาพ
จากข้อพิสูจน์ทางการแพทย์และงานผลจากงานวิจัยต่าง ๆ พบว่าเลซิตินเป็นสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท บำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและช่วยละลายนิ่วในถุงน้ำดี บำรุงตับ ช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล ช่วยลดภาวะหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ
จากข้อพิสูจน์ทางการแพทย์และงานผลจากงานวิจัยต่าง ๆ พบว่าเลซิตินเป็นสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท บำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและช่วยละลายนิ่วในถุงน้ำดี บำรุงตับ ช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล ช่วยลดภาวะหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ
การได้รับ เลซิติน ในปริมาณ 0.6-1 กรัมต่อวัน ก็จะช่วยในการป้องกันโรคบางอย่างและควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ดีอยู่เสมอ โดยไม่ก่อให้เกิดการสะสมหรือข้อผลข้างเคียงต่อร่างกายแต่อย่างใด เพราะจากการทดลอง พบว่า การทาน เลซิติน ในปริมาณ 40-50 กรัมต่อวัน ติดต่อกันนานถึง 18 เดือน ก็ไม่พบการสะสมหรือผลข้างเคียงใดๆต่อสุขภาพและร่างกาย เพราะ เลซิติน เป็นสารอาหารที่เกิดจากธรรมชาตินั่นเอง
เราควรเลือกทานเลซิตินที่มีฟอสฟาติดิลโคลีนในปริมาณสูง(15-35%) เพื่อความสะดวกในการรับประทานในแต่ละวัน พร้อมทั้งพิจารณาเลือกเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลือง เพราะมีปริมาณของเลซิติน และไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง ควรเลือกเลซิตินที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยา เพราะทำให้มั่นใจได้ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย และร่างกายจะได้รับเลซิตินที่บริสุทธิ์ ปราศจากการแต่งกลิ่น รส และสารฟอกขาว
Reference
1. G.B.Arsell., The neuropharmacology of lecithin and its metabolites, Lecithin and Aemlthcare, 1985, 247-255
2. Balch, Jame F, Prescription for Nutritional Healing, 1993,PP. 43-44
3. Murray, Michael T., Encyclopedia of nutritional supplement, 1996, PP.137-141
4. National Research Council (U.S) Committee on Diet and Health; Implications for reducing chronic disease risk., 1989, PP.216-217
5. Effects of dietary polyenylphosphatidylcholine on metabolism of cholesterol and triglycerides in hypertriglyceridemic patients, The Am.J. of Clinical Nutrition 43: January 1986. PP.101
1. G.B.Arsell., The neuropharmacology of lecithin and its metabolites, Lecithin and Aemlthcare, 1985, 247-255
2. Balch, Jame F, Prescription for Nutritional Healing, 1993,PP. 43-44
3. Murray, Michael T., Encyclopedia of nutritional supplement, 1996, PP.137-141
4. National Research Council (U.S) Committee on Diet and Health; Implications for reducing chronic disease risk., 1989, PP.216-217
5. Effects of dietary polyenylphosphatidylcholine on metabolism of cholesterol and triglycerides in hypertriglyceridemic patients, The Am.J. of Clinical Nutrition 43: January 1986. PP.101
- - - - - - - - - - - - - - - - -
ธนโชติ อินต๊ะเทพ Tel: 0836069948
Mail: tnc_itp@hotmail.com
4 ความคิดเห็น:
Thanks you .
ขอบคุณมากมาย
ทานอยู่ค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์
Coin Casino | €1,000 + 100 FS - Casinoowed.com
With over 500 casino games and over 1,000+ casino 인카지노 games, we know there are more to online 바카라사이트 casinos than ever before. With over 바카라 3000+ games,
แสดงความคิดเห็น